ข้อควรรู้เกี่ยวกับที่ดิน สาธารณประโยชน์

Landy Estate

คำถามยอดฮิต ที่ดินสาธารณประโยชน์

ปัญหากรณีศาลาสา ธารณะของหมู่บ้านรุกลําที่ดิน จะสามารถดําเนินการอย่างไร ได้บ้าง 

  • กรณีประเด็นคําถามนั้นหากข้อเท็จจริงรับฟังเป็นที่ยุติว่า ศาลาสาธารณะของหมู่บ้านรุกล้ําที่ดินจริง ให้ไปแจ้งความเดือดร้อนต่อนายอําเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นผู้ มีหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินสาธารณะโดยตรง แต่ถ้าไปขอความอนุเคราะห์แล้วไม่ได้รับการ แก้ไขปัญหาจากเจ้าหน้าที่เลยท่านในฐานะเจ้าของที่ดินยังมีสิทธิดําเนินการฟ้องร้องต่อ ศาลได้ตามมาตรา 1335,1336 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งได้อธิบาย ความไว้ว่า เจ้าของทรัพย์สินมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใดก็ย่อมมีสิทธิใช้สอย จําหน่าย ได้ซึ่งคอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น ตลอดจนติดตามเอาคืนจากผู้ที่ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ และ ขัดขวางมิให้ผู้ใดเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ที่ดินที่โอนไปเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์จะมีสิทธิขอที่ดินดังกล่าวคืนได้หรือไม่

  • การที่เจ้าของที่ดินในที่ดินแปลงหนึ่งได้แสดงเจตนาโอนหรืออุทิศที่ดินของตนเองให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไป ไม่ว่าจะทําเป็นหนังสือหรือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือไม่ก็ตาม โดยผลของกฎหมายย่อมทําให้ที่ดินแปลงดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ทั้งนี้ อาศัยเทียบเคียง คําพิพากษาฎีกา ที่ 4900/2528 ซึ่งได้วินิจฉัยไว้ว่า “การอุทิศที่ดินให้เป็นที่สาธารณะ เพียงแต่เจ้าของกรรมสิทธิ์ผู้ยกให้แสดงเจตนาให้ปรากฏโดยตรงหรือโดยปริยายว่าได้อุทิศ ให้เป็นที่สาธารณะ ที่ดินนั้นก็ตกเป็นที่สาธารณะทันที” เว้นแต่การโอนจะกระทําไปโดย ผิดพลาดคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีหลักฐานชัดแจ้งส่วนผลของการ เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ก็คือไม่อาจจะโอนให้แก่กันได้แต่อย่างใด ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า “ทรัพย์สินซึ่ง เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอํานาจแห่งบท กฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา”

คลองชลประทานซึ่งใช้ประโยชน์โดยรับน้ํามาทํานาและเป็นที่ระบายน้ำเมื่อเข้าสู่หน้าฝนต่อมาคลองได้ตื้นเขินทางเทศบาลได้ถมคลองโดยจะทําเป็นตลาด การกระทําดังกล่าวชอบ ด้วยกฎหมายหรือไม่ในกรณีที่ยังไม่ได้มีการเพิกถอน

  • คลองชลประทานเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) ถึงแม้สภาพคลองตื้นเขินราษฎร ไม่ได้ใช้ ประโยชน์แล้ว แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้มีการถอนสภาพ ที่ดินดังกล่าวก็ยังคงเป็นที่ สาธารณประโยชน์ตามเดิม กรณีที่เทศบาลได้ถมคลองเพื่อจะทําเป็นตลาดโดยที่ยังไม่ได้ มีการถอนสภาพจึงเป็นการดําเนินการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

ที่สาธารณะถูกบุกรุกชาวบ้านเข้าไปสร้างบ้านเรือน และนาข้างเคียงบุกรุณป็นที่นา บางส่วน มีวิธีใดบ้างที่จะให้ชาวบ้านย้ายออก และขอที่ดินที่กลายเป็นที่นากลับคืน

  • ที่ดินสาธารณประโยชน์เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา 1304(2) แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้ามมิให้บุคคลใดเข้าไปยึดถือครอบครอง บุคคลใด เข้าไปยึดถือครอบครองถือว่าเป็นผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 และมีความผิดตามมาตรา 108,108 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ ไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ที่ดินสาธารณประโยชน์ นายอําเภอมีหน้าที่ดูแล รักษาตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 122 ดังนั้น ท่าน ต้องไปแจ้งหรือมีหนังสือแจ้งให้นายอําเภอทราบและดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ ท่านก็ จะได้ที่สาธารณประโยชน์กลับคืน

ที่ดินที่ถูกถมยื่นเข้าไปในทะเลซึ่งเป็นที่ดินติดกับที่ดินที่มีโฉนดของตนเอง ถ้าจะขออนุญาต ครอบครองใช้ประโยชน์โดยไม่ให้ผู้อื่นรุกล้ำจะกระทําได้หรือไม่

  • ทะเลเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามมาตรา 1304(2) แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การถมที่ดินลงในทะเลถือว่าเป็นความผิดฐานสร้าง สิ่งล่วงล้ําลําน้ําตามมาตรา 117 หรือมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือใน น่านน้ําไทย พ.ศ. 2456 บุคคลที่ถมที่ดินลงในทะเลจะต้องดําเนินการเพื่อทําให้ที่ดิน ดังกล่าวกลับสู่สภาพเดิม หากจะขออนุญาตครอบครองใช้ประโยชน์โดยไม่ให้ผู้อื่นรุก ล้ำนั้นต้องไปขออนุญาตจากกรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชย์นาวี

นาย ก ถูกรัฐเวนคืนที่ดินบางส่วนไปเพื่อตัดถนนสาธารณะ ซึ่งขณะนี้สร้างเสร็จเปิดใช้เส้นทางเรียบร้อยแล้ว แต่ขณะนี้มีบุคคลบางกลุ่มเข้าไปจับจองครอบครองทางเท้า (ฟุตบาท โดยปลูกสร้างร้านค้าตลอดแนวถนนปิดบังที่ดินของนาย ก ซึ่งถือเป็นการรบกวน การครอบครองที่ดินของนาย ก และด้วยเหตุนี้นาย ก ได้มีการบอกกล่าวให้เขารื้อถอน ออกไป แต่ก็ได้รับการปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าเขาไม่ได้บุกรุกที่ดินของนาย ก เขาปลูกสร้าง บนที่ดินของหลวง อยากทราบว่าที่เขากล่าวอ้างมานั้นถูกต้องหรือไม่ ถ้าผิด นาย ก จะมีวิธี ใดหรือกฎหมายข้อใดบังคับให้เขารื้อถอนออกไปได้

  •  ทางสาธารณประโยชน์นั้นประชาชนทั่วไปมีสิทธิใช้ประโยชน์ร่วมกัน หากผู้ใดปลูกโรงเรือนบนทางสาธารณะหรือถนนหลวงปิดกั้นหน้าที่ดินและบ้านเรือนของผู้อื่นที่ติด ถนนสาธารณะนั้น เป็นเหตุให้เจ้าของที่ดินและบ้านเรือนดังกล่าวไม่อาจใช้ประโยชน์ได้ ตามปกติเจ้าของที่ดินและบ้านเรือนดังกล่าวย่อมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จึงมีสิทธิ ฟ้องให้รื้อถอน สิ่งปลูกสร้างออกไปได้ 

พื้นที่ที่เป็นชายหาดสามารถเป็นที่ดินส่วนบุคคลได้หรือไม่ หรือต้องเป็นที่ดินส่วนราชการหรือ ที่ดินสาธารณะแค่นั้น

  • ที่ชายหาด หมายถึง ที่ดินที่น้ําท่วมถึง และที่ดินบริเวณดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ว่า เป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับประชาชนใช้ร่วมกัน เช่น คําพิพากษาฎีกา ที่ 214/2480 และคําพิพากษาฎีกาที่ 1863/2518 ได้วินิจฉัยไว้ว่า ที่ชายตลิ่งน้ําท่วมถึงเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน และผลของการเป็นสาธารณ สมบัติของ แผ่นดิน บุคคลใดจะยึดถือครอบครองหรือยกอายุความขึ้นต่อสู้เพื่อให้ได้มา ซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองได้ไม่ เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 1306,1307 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การเข้าไปครอบครองปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใด ล่วงล้ําที่ดินดังกล่าวโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า เป็นความผิดตามมาตรา 118 แห่ง พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย พ.ศ.2456

กรณี อบต. ได้รับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจก่อสร้างสวนสาธารณะ สวนสุขภาพและสนามเด็กเล่นในที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน อบต. สามารถดําเนินการได้เลย หรือไม่ หรือต้องทําอย่างไร 

  • การนําที่สาธารณประโยชน์สําหรับพลเมืองใช้ร่วมกันมาจัดสร้างเป็นสวนสาธารณะสวนสุขภาพ และสนามเด็กเล่น เป็นการเปลี่ยนสภาพจากการใช้ประโยชน์เพื่อสาธารณประโยชน์อย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่ง ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วย การเปลี่ยนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกันจาก การใช้เพื่อสาธารณประโยชน์อย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่ง พ.ศ.2543 หาก อบต. ประสงค์จะดําเนินการที่สามารถยื่นคําขอเป็นหนังสือตามระเบียบดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการ จังหวัดที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่

หน่วยงานของรัฐสามารถอ้างการใช้สิทธิครอบครองกับที่ดินของประชาชนได้หรือไม่

  • เรื่องนี้คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมายคณะที่ 7) พิจารณาวินิจฉัยเมื่อเดือนมิถุนายน 2540 ตอบข้อหารือของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปได้ว่า เมื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน โดยถูกต้องแล้ว สิทธิของบุคคลในที่ดินนั้นย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย การที่รัฐจะเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร จะต้องกระทําการโดยมีกฎหมายกําหนดให้อํานาจไว้ชัดแจ้งเท่านั้น บทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เกี่ยวกับการแย่งการครอบครองเป็นกรณีที่ใช้บังคับใน ระหว่างเอกชนด้วยกัน แต่สําหรับหน่วยงานของรัฐการจะดําเนินการใดที่มีผลเป็นการ กระทบสิทธิของเอกชนจะต้องมีกฎหมายกําหนดให้อํานาจไว้ชัดแจ้ง จึงจะกระทําได้ ดังนั้น หน่วยงานของรัฐจึงไม่อาจจะแย่งการครอบครองที่ดินของเอกชน โดยอาศัย บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้

นสล. คืออะไร และมีศักดิ์อย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับ น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3

  • ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตราน ในประมวลกฎหมายที่ดิน “หนังสือรับรองการทําประโยชน์” หมายความว่า หนังสือคํารับรองจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ว่าได้ทําประโยชน์ในที่ดินแล้วมาตรา 8 ตรี ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน หรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน โดยเฉพาะ อธิบดีอาจจัดให้มีหนังสือสําคัญสําหรับที่ หลวงเพื่อแสดงเขตไว้เป็นหลักฐาน จากบทบัญญัติดังกล่าวสรุปได้ว่า หนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก.) เป็นเอกสารสิทธิในที่ดินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกให้แก่เจ้าของที่ดินที่ได้ขอ รับรองการทําประโยชน์ไว้ว่า เจ้าของที่ดินแปลงนั้นได้ทําประโยชน์ในที่ดินของตนแล้ว ส่วนหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงเป็นหนังสือสําคัญแสดงเขตที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน

    โดยเฉพาะ (ที่ราชพัสดุ) ความแตกต่าง คือ หนังสือรับรองการทําประโยชน์เป็นเอกสาร สิทธิในที่ดินที่รัฐออกให้แก่ประชาชน ส่วนหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงเป็นหนังสือ สําคัญแสดงเขตออกในที่ดินของรัฐที่เป็นที่สาธารณประโยชน์หรือที่ราชพัสดุเท่านั้น

ขอทราบระเบียบ กฎหมาย และฎีกา เกี่ยวกับการโอนที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์

  • การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามนัย มาตรา 4 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น การโอนที่ดินซึ่งมีหลักฐานเป็นโฉนด ที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ จึงต้องจด ทะเบียน โอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ถ้าเจ้าของที่ดินประสงค์จะโอนที่ดินทั้งแปลงที่ ให้นําโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ไปยื่นคําขอจดทะเบียนโอนเป็น ทางสาธารณประโยชน์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดินท้องที่ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ แต่หากประสงค์โอนที่ดินเพียงบางส่วนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ที่ให้ยื่นคําขอรังวัด เพื่อแบ่งหักเป็นที่สาธารณประโยชน์ก่อน เมื่อทําการรังวัดแบ่งหักเสร็จแล้วจึงจดทะเบียน โอนให้แก่ทางราชการต่อไป การจดทะเบียนดําเนินการตามกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับ ที่ 7 (พ.ศ.2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 กรณีที่ดินไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินเป็นโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทํา ประโยชน์หรือมีแต่ไม่ประสงค์จะแบ่งแยกที่ดินนั้น ถ้าประสงค์จะยกที่ดินให้เป็นทาง สาธารณะให้ดําเนินการ โดยการอุทิศ กล่าวคือ เจ้าของที่ดินจะต้องแสดงความประสงค์ ต่อเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานซึ่งได้รับอุทิศเพื่อเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้นจะได้จัดทํา หนังสือแสดงความประสงค์เกี่ยวกับการอุทิศที่ดินให้กับราชการ ทั้งนี้ เมื่อได้ลงนามใน หนังสือเพื่ออุทิศที่ดินแล้ว ที่ดินที่อุทิศจะตกเป็นของทางราชการทันที แม้จะยังไม่ได้จด ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0723/ว 2251 ลง วันที่ 10 สิงหาคม 2544) อย่างไรก็ตาม แม้ที่ดินนั้นจะมีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดินหรือ หนังสือรับรองการทําประโยชน์หรือไม่มีหลักฐานใด ๆ ถ้าเจ้าของที่ดินผู้มีสิทธิครอบครอง ปล่อยให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันติดต่อกันมาเป็นเวลานานโดยไม่ได้หวงห้ามหรือ สงวนสิทธิ์ที่ดินนั้นก็อาจตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกันได้ 

ขอทราบระเบียบ กฎหมาย และฎีกา เกี่ยวกับการโอนที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์

  • การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามนัย มาตรา 4 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
  • ดังนั้น การโอนที่ดินซึ่งมีหลักฐานเป็นโฉนด ที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ จึงต้องจด ทะเบียน โอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ ถ้าเจ้าของที่ดินประสงค์จะโอนที่ดินทั้งแปลงที่ ให้นําโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ไปยื่นคําขอจดทะเบียนโอนเป็น ทางสาธารณประโยชน์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดินท้องที่ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่
  • แต่หากประสงค์โอนที่ดินเพียงบางส่วนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ที่ให้ยื่นคําขอรังวัด เพื่อแบ่งหักเป็นที่สาธารณประโยชน์ก่อน เมื่อทําการรังวัดแบ่งหักเสร็จแล้วจึงจดทะเบียน โอนให้แก่ทางราชการต่อไป การจดทะเบียนดําเนินการตามกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับ ที่ 7 (พ.ศ.2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497
  • กรณีที่ดินไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินเป็นโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทํา ประโยชน์หรือมีแต่ไม่ประสงค์จะแบ่งแยกที่ดินนั้น ถ้าประสงค์จะยกที่ดินให้เป็นทาง สาธารณะให้ดําเนินการ โดยการอุทิศ กล่าวคือ เจ้าของที่ดินจะต้องแสดงความประสงค์ ต่อเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานซึ่งได้รับอุทิศเพื่อเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้นจะได้จัดทํา หนังสือแสดงความประสงค์เกี่ยวกับการอุทิศที่ดินให้กับราชการ ทั้งนี้ เมื่อได้ลงนามใน หนังสือเพื่ออุทิศที่ดินแล้ว ที่ดินที่อุทิศจะตกเป็นของทางราชการทันที แม้จะยังไม่ได้จด ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0723/ว 2251 ลง วันที่ 10 สิงหาคม 2544) 
  • อย่างไรก็ตาม แม้ที่ดินนั้นจะมีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดินหรือ หนังสือรับรองการทําประโยชน์หรือไม่มีหลักฐานใด ๆ ถ้าเจ้าของที่ดินผู้มีสิทธิครอบครอง ปล่อยให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันติดต่อกันมาเป็นเวลานานโดยไม่ได้หวงห้ามหรือ สงวนสิทธิ์ที่ดินนั้นก็อาจตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกันได้ 

ที่ดินริมตลิ่งแม่น้ำสามารถจับจองได้หรือไม่ ถ้าสามารถจับจองได้จะต้องปฏิบัติอย่างไร และถ้าจับจองไม่ได้เพราะอะไร

  • ที่ดินริมตลิ่งแม่น้ำเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทประชาชนใช้ร่วมกัน ไม่สามารถอนุญาตให้จับจองได้ เนื่องจาก คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้ กําหนด ระเบียบว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชน ไว้ว่า ที่ดินที่จะอนุญาตให้จับจองอยู่อาศัยหรือประกอบการทํามาหาเลี้ยงชีพได้นั้น จะต้องไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอันราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน 

ที่ดินติดคลองสาธารณประโยชน์ต่อมามีการขุดลอกคลองทําให้รุกล้ำเข้ามาในที่ดินประมาณ 5 เมตร เป็นแนวยาว จึงสร้างกระชังสําหรับเลี้ยงปลาในคลองที่ถูกรุกล้ำดังกล่าวจะถือว่า เรายังใช้สิทธิในการครอบครองที่ดินดังกล่าวหรือไม่ และจะสามารถดําเนินการถมในส่วนนี้ หากมีการขุดลอกคลองครั้งต่อไปได้หรือไม่

  • กรณีทํานองเดียวกับคําถามดังกล่าว ศาลฎีกาได้มีคําพิพากษา ที่ 3093/2523 ว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์กับพวกอยู่ แม้น้ำจะเซาะที่ดินโจทก์กับ พวกตรงที่พิพาทจนกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่งไปแล้วก็ตาม แต่โจทก์กับพวกก็ยังใช้สิทธิ เป็นเจ้าของโดยใช้เป็นทางเข้าออกอยู่มิได้ทอดทิ้งให้เป็นที่สําหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ที่ พิพาทจึงไม่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน

อยากทราบว่า ถ้าต้องการข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินของรัฐที่ยังว่างอยู่ในกรุงเทพฯ ไม่ว่าหน่วยงานใดๆ ก็ตามใน กทม. ขอทราบได้ที่ไหนบ้าง 

  • เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ในการดูแลรักษาที่สาธารณะตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 รวมทั้งที่ดินรกร้างว่างเปล่า ตาม คําสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 12/2543 ลงวันที่ 18 มกราคม 2543 
  • ดังนั้น ถ้าประสงค์จะ ทราบข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์และที่ดินรกร้างว่างเปล่าให้สอบถามได้ที่ กรุงเทพมหานครหรือสํานักงานเขตต่าง ๆ 
  • แต่ถ้าเป็นที่ดินราชพัสดุจะอยู่ในความดูแล ของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 จึง สอบถามข้อมูลได้ที่กรมธนารักษ์

ขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์

  • ที่สาธารณประโยชน์เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมีไว้เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ที่ทําเลเลี้ยงสัตว์ ที่ชายตลิ่ง ทางบก ทางน้ํา สวนสาธารณะ ที่สาธารณะ ประจําตําบลหรือหมู่บ้าน โดยทั่วไปที่สาธารณประโยชน์เกิดจากการสงวนหวงห้ามของ ทางราชการ สภาพธรรมชาติ สภาพการใช้ประโยชน์ร่วมกันของประชาชน การอุทิศ หรือยกให้ เป็นต้น 
  • ที่สาธารณประโยชน์มีกฎหมายคุ้มครองไว้เป็นพิเศษ ในการใช้และ การจัดการจะต้องมุ่งรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ร่วมกันของประชาชนตามวัตถุประสงค์ที่จัด ให้มีที่ดินดังกล่าวเป็นสําคัญ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ถึงกับเป็นการผูกมัดไม่ให้มีการจัดการ ที่จะทําให้เกิดประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ สังคม ดังนั้น การให้เอกชนเข้าใช้ประโยชน์ ในระยะ ไม่ยาวนักและไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่ประชาชนจะใช้ประโยชน์ร่วมกัน จึง สามารถกระทําได้ สําหรับการใช้ประโยชน์อย่างอื่นที่มีลักษณะเป็นการถาวรต้องเป็น ไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกําหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องดําเนินการ ถอนสภาพเสียก่อน ตามนัยมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน 
  • ส่วนการเปลี่ยนสภาพ การใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะจากการใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งก็ต้อง เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเปลี่ยนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณ สมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันจากการใช้ประโยชน์อย่างหนึ่ง เป็นอีกอย่างหนึ่ง พ.ศ.2543 
  • อย่างไรก็ตามที่ดินประเภทนี้ไม่สามารถนําไปจัดหา ผลประโยชน์ได้ เพราะมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มิให้จัดหาผลประโยชน์ จากสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ดังนั้น หากกฎหมายไม่ได้ กําหนดไว้โดยแจ้งชัดแล้วก็ไม่สามารถกระทําได้ ทั้งนี้ การสิ้นไปหรือพ้นไปจากการเป็น ที่สาธารณประโยชน์อาจมีได้ 2 กรณี คือ การสิ้นไปโดยผลของกฎหมายและการสิ้นไป ตามสภาพธรรมชาติ

ที่มา  www.dol.go.th

Landy Estate รับทำ Feasibility Study ศึกษาความเป็นไปได้โครงการอสังหาริมทรัพย์ วิเคราะห์ศักยภาพที่ดิน สำรวจตลาดอสังหาฯ ให้คำปรึกษาการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเม้นท์ และอสังหาฯอื่นๆ

Share

ปรึกษาการลงทุนพัฒนาโครงการอสังหาฯ