รับทำ Feasibility Stududy
ศึกษาความเป็นไปได้โครงการอสังหาริมทรัพย์ วิเคราะห์ศักยภาพที่ดิน สำรวจตลาดอสังหาฯ ช่วยให้การลงทุนมีความเป็นไปได้สูงสุด
การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ดี จะต้องสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าได้ เหมาะสมกับกำลังซื้อ และสามรถปิดโครงการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะทำให้การลงทุนมีความเป็นไปได้และประสบความสำเร็จในที่สุด
“มีเงินลงทุนมากมาย แต่สินค้าไม่ตรงความต้องการของลูกค้า ไม่สามารถปิดการขายได้ ก็ไร้ความหมาย”
บริการรับทำ Feasibility Study ศึกษาความเป็นไปได้การลงทุนโครงการอสังหาริมทรัพย์
ศึกษาความเป็นไปได้โครงการอสังหาริมทรัพย์ บ้านจัดสรร คอนโด โรงแรม อพาร์ทเม้นท์ และโครงการอสังหาริทรัพย์อื่นๆ จัดทำแผนธุรกิจเพื่อยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน โดยวิเคราะห์ด้านต่างๆ ดังนี้
- ศึกษาความเป็นไปได้ด้านทำเลที่ตั้ง รวมทั้งลักษณะทางกายภาพโครงการ (Physical Feasibility Study)
- ศึกษาความเป็นไปได้ด้านข้อกฎหมาย (Legal Feasibility Study)
- ศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาด (Marketing Feasibility Study)
- ศึกษาความเป็นไปได้ด้านการเงิน (Financial Feasibility Study)
1. ศึกษาความเป็นไปได้ด้านกายภาพ ทำเลที่ตั้ง
ศึกษาความเป็นไปได้ด้านกายภาพของที่ดิน (Physical Feasibility Study)
โดยศึกษา ลักษณะที่ดิน ฉโนดที่ดิน รูปร่าง หน้ากว้าง และความเหมาะสมที่จะนำมาพัฒนาโครงการ เช่น
- ศึกษาลักษณะกายภาพของที่ดิน เช่น ความสูงต่ำของที่ดินต้องถมเพิ่มเท่าใด หน้ากว้าง รูปร่างที่ดิน เหมาะสมกับการนำมาพัฒนาโครงการหรือไม่
- ศึกษาการเข้า-ออกสู่ที่ดิน สำรวจถนนหน้าโครงการ ความกว้างถนน ความลึกจากถนนใหญ่ ศึกษาการเดินทาง ว่าสามารถเข้าถึงได้สะดวกหรือไม่ มีระบบขนส่งในบริเวณใกล้เคียงหรือไม่ เป็นต้น
- ดูสภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวก และสาธารณูปโภคเช่น แหล่งงานและแหล่งชุมชนอยู่ใกลมากน้อยเพียงใด เหมาะสมที่จะนำมาพัฒนาหรือไม่
- สำรวจระบบน้ำไฟใกล้เคียง ต้องขยายเขตหรือไม่ ระบบน้ำเพียงพอหรือไม่ ต้องทำระบบน้ำบาดาลเพิ่มหรือไม่ มีท่อระบายน้ำหรือไม่ เป็นต้น
2. ศึกษาความเป็นไปได้ด้านข้อกฎหมาย
ศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ (Legal Feasibility Study) ดังนี้
- ตรวจสอบกฎหมายผังเมืองเพื่อดูว่าโครงการที่เราจะสร้างนั้นสามารถพัฒนาได้หรือไม่ และสามารถสร้างได้มากน้อยเพียงใด รูปแบบใดบ้าง
- ตรวจสอบข้อบัญญัติท้องถิ่นที่กำหนดบริเวณห้ามสร้างต่างๆ เพื่อดูว่าพื้นที่โครงการเราสามารถก่อสร้างอาคารได้หรือไม่ มีข้อจำกัดอะไรบ้าง
- ตรวจสอบแนวเวนคืนที่ดินกับทางราชการ ที่ดินเราอยู่ในแนวเวนคืนหรือไม่
- ตรวจสอบกฎหมายการพัฒนาโครงการเฉพาะทางเช่น กฏหมายจัดสรร กฎหมายอาคารชุดเป็นต้น
- ตรวจสอบกฎหมายควบคุมอาคารประเภทต่างๆ เพื่อใช้ในการออกแบบโครงการ เช่น ระยะร่น ระยะห่างระหว่างอาคาร ฯลฯ เป็นต้น
- ตรวจสอบกฎหมายสิ่งแวดล้อม EIA
3. ศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาด
ศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาด (Marketing Feasibility Study) เป็นการสำรวจสภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณใกล้เคียงว่าเหมาะกับการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์หรือไม่
- ดูภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพน์ ว่าน่าลงทุนหรือไม่ โดยดูปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาฯ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ การมีงานทำของประชากร ฯลฯเป็นต้น
- ดูอุปสงค์-อุปทานในพื้นที่ว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร
- ศึกษาคู่แข่ง โดยสำรวจดูว่าตลาดส่วนใหญ่เป็นแบบใด มี Demand มากน้อยเพียงใด โดยต้องลง Survey ในพื้นที่เพื่อดูสภาพตลาด และนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาโครงการ เช่น การออกแบบ ตั้งราคา การกำหนดพื้นที่ ฯลฯ เป็นต้น
- ศึกษาข้อมูลกลุ่มลูกค้า โดยดูว่าในพื้นที่มีแหล่งงานหรือไม่ เป็นแหล่งงานประเภทใด ศึกษากลุ่มลูกค้าจากโครงการคู่แข่งใกล้เคียง วิเคระห์รายได้ กำลังซื้อ รสนิยม และความต้องการของลูกค้าในพืนที่นั้น
- กำหนดตำแหน่งทางการตลาด และรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาพัฒนาโครงการ
4. ศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน
ศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน (Financial Feasibility Study) เป็นการคำนวณผลตอบแทนการลงทุนโครงการ โดยทางเราจะวางผังโครงการ และใช้พื้นที่ ราคาขาย และข้อมูลทางการตลาดที่สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้ามาจัดทำตัวเลขทางการเงิน
- การประมาณการรายรับของโครงการ อันได้แก่ ค่าเช่า รายได้อื่นๆ อัตราการเช่า รายละเอียดการชำระเงิน ฯลฯ
- การประมาณการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการ ได้แก่ ต้นทุนที่ซื้อมา ค่าปรับปรุงซ่อมแซมใหม่ ค่าดำเนินการที่เกี่ยวข้อง เช่น การขออนุญาตต่างๆ การบริหารโครงการ การบริหารงานก่อสร้าง ภาษี ฯลฯ
การประมาณการสัดส่วนของเงินลงทุน เงินกู้ ดอกเบี้ยเงินกู้
- การประมาณการกระแสเงินสดของโครงการ (Cash Flow Projection)
- การประมาณการผลตอบแทนของโครงการ เช่น
– มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value)
– ผลตอบแทนภายในของโครงการ (Internal Rate of Return)
– ผลตอบแทนต่อเงิน- ลงทุนของโครงการ (Return of Investment)
– ผลตอบแทนเฉพาะส่วนเงินลงทุนของเจ้าของ (Return of Equity)
– ระยะเวลาในการคืนทุน (Payback Period) เป็นต้น - ทำ Scenario Analysis เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆในอนาคต ที่จะส่งผลถึงโครงการทั้งดีและไม่ดี
- สรุปความเป็นไปได้ทางด้านการเงิน
ขั้นตอนการทำงาน
-
พูดคุยสอบถามความต้องการ
เราจะนัดลูกค้าเข้ามาพูดคุยเพื่อทราบความต้องการเบื้องต้นของลูกค้า ชี้แจงรายละเอียดและขอบเขตการให้บริการ ตลอดจนลูกค้าเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้กับทีมงาน
-
ตรวจสอบข้อกฎหมาย
เริ่มงานแรกสิ่งที่เราจะทำคือ ตรวจสอบข้อกฎหมายต่างๆ เพื่อดูว่าที่ดินนั้นอยู่ในบริเวณห้ามสร้าง หรือ ผังเมืองกำหนดให้สร้างเป็นรูปแบบใดได้บ้าง
-
ลงพื้นที่สำรวจที่ดิน
เราจะสำรวจลักษณะทางกายภาพที่ดินโครงการ ทั้งถนนเข้าออก ตรวจสอบความกว้างของถนน ระบบน้ำไฟ สาธรณูปโภค สภาพแวดล้อมต่างๆ
-
ลงพื้นที่สำรวจคู่แข่ง
สำรรวจโครงการอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณใกล้เคียง เพื่อเก็บข้อมูล และน้ำมาวิเคราะห์พัฒนาโครงการ
-
วิเคราะห์สภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์
วิเคราะห์ข้อมูล Demand - Supply โครงการที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง สำรวจความต้องการกลุ่มลูกค้า
-
วิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุน
เราจะจัดทำผังโครงการเบื้องต้น ตามข้อมูลทางการตลาด และนำมาคำนวณเป็นผลตอบแทนการลงทุนโครงการ
-
สรุปผลการศึกษาและนำเสนองาน
นำข้อมูลที่ได้มาจัดทำเป็นเล่มรายงาน และนำส่งให้ลูกค้า พร้อมทั้งชี้แจง อธิบายรายละเอียดผลการดำเนินงาน โดยส่งงานเป็นเล่มรายงาน ไฟล์สรุป และ ไฟล์งานที่เกี่ยวข้อง
- คำถามที่พบบ่อย
เราให้บริการรับศึกษาความเป็นไปได้เฉพาะโครงการอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เช่น บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์เม้นท์ โรงแรม รีสอร์ท บ้านเช่าต่างๆ เป็นต้น
ระยะเวลาในการทำงานโดยประมาณ 30 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายละเอียดความต้องการของลูกค้า ความยากง่ายของแต่ละงานด้วย
- เตรียมสำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าตัวจริง และระวางที่ดิน(ถ้ามี)
- เตรียมสำเนารังวัดที่มีขนาดบุความยาวของที่ดินแต่ละด้าน (ถ้ามี จะสามารถวางผังได้ละเอียดยิ่งขึ้น ) หากไม่มีทางเราจะหาขนาดอ้างอิงกับระยะในโฉนด และระวางที่ดินโดยใกล้เคียงกับพื้นที่จริง
- แจ้งความต้องการของลูกค้าในเบื้องต้น รูปแบบโครงการ ,ต้องการทำเป็นรูปแบบเช่า หรือ ขาย เป็นต้น
- คำแนะนำในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เหมาะสมและเป็นไปได้มากที่สุดในทำเลนั้นๆ
- ขนาด จำนวน ราคาขาย และรูปแบบอาคารที่ควรพัฒนา
- ทราบถึงลักษณะกลุ่มลูกค้าของโครงการ เช่น ไลฟ์สไตล์ กำลังซื้อ ความต้องการ ฯลฯ
- Cash Flow แสดงกระแสเงินสด รายรับ-จ่าย และกำไรจากการพัฒนาโครงการ ในรูปแบบ GPM / NPM / IRR / NPV / ROI / ROE ฯลฯ
- เล่มรายงานพร้อมไฟล์สรุปประเด็นเพื่อเป็นแนวทางตัดสินใจในการพัฒนาโครงการ
- เล่มรายงานนี้สามารถนำไปประกอบการยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินได้