ภาระจำยอม หมายถึง การจำกัดสิทธิ์บางอย่างของจ้าของทรัพย์นั้น เพื่อเอื้อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นๆ กล่าวคือ ภาระจำยอมเป็นหลักการทางกฎหมายอย่างหนึ่งที่มีไว้สำหรับคุ้มครองคนที่มีที่ดิน แต่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ เพราะโดนล้อมรอบด้วยที่ดินบุคคลอื่น ซึ่งภาระจำยอมนี้จะช่วยให้คนซึ่งมีที่ดินตาบอดสามารถติดต่อเจรจากับเจ้าของที่ดินรอบๆ ให้สามารถ จำยอม เปิดทางให้ใช้เป็นทางเข้า–ออก สู่ถนนสาธารณะได้
โดยภาระจำยอมจะต้องมีการทำเป็นหนังสือ และ จดทะเบียนกับกรมที่ดินจึงจะมีผลผกติดกับที่ดินแปลงนั้นๆ แม้ว่าที่ดินแปลงนั้นๆจะถูกซื้อขายเปลี่ยนมือ ภาระจำยอมก็จะเกาะติดไปกับที่ดินแปลงนั้นๆเสมอ ดังนั้นหากจะซื้อที่ดิน หรือ บ้าน ควรจะตรวจสอบว่าถนนหน้าบ้านเป็นสาธารณะหรือไม่ หากไม่ใช่ต้องเช็คที่กรมที่ดินอีกด้วยว่าถนนนั้นได้มีการจดภาระจำยอม ให้สามารถผ่านทางนั้นได้หรือไม่ จะได้ไม่ซื้อที่ดินตาบอดที่ไม่มีทางออกสู่สาธารณะ
ถ้าต้องการทำภาระจำยอม จะมีวิธีไหนบ้าง
ถ้าที่ดิน หรือบ้านเราไม่มีทางเข้า-ออกไปถนนสาธารณะ และต้องการทาง “ภาระจำยอม” สำหรับเดินหรือขับรถผ่านไปทางสาธารณะ จะมีวิธีการได้มา 2 วิธีคือ
(1) เจรจาตกลงกับที่ดินแปลงติดกันเพื่อทำข้อตกลงภาระจำยอม (แบบนี้เรียกว่าการได้ภาระจำยอมมาโดยนิติกรรม) หรือ
(2) ใช้ที่ดินแปลงติดกันนั้นเป็นภาระจำยอมต่อเนื่อง 10 ปี โดยเปิดเผย (แบบนี้เรียกว่าการได้ภาระจำยอมมาโดยอายุความ)
การสิ้นไปแห่งภาระจำยอม
ถ้า ภารยทรัพย์ หรือ สามยทรัพย์ สลายไปทั้งหมดเท่ากับภาระจำยอมจะสิ้นไปโดยอัตโนมัติ
- เมื่อภารยทรัพย์ หรือ สามยทรัพย์ ตกเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เจ้าของสามารถขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมได้
- ภาระจำยอมไม่ได้ใช้ 10 ปี ติดต่อกัน ภาระจำยอม ย่อมหมดสิ้นไป
- ภาระจำยอมหมด ประโยชน์ แก่สามยทรัพย์
- เมื่อภาระจำยอมนั้น ยังประโยชน์ ให้แก่ สามยทรัพย์นั้น น้อยมาก เจ้าของภารยทรัพย์ขอให้พ้นจากภาระจำยอมทั้งหมด หรือ แต่บางส่วนก็ได้ แต่ต้องใช้ค่าทดแทน